Skip to content

Instantly share code, notes, and snippets.

@thaiall
Created August 6, 2017 02:08
Show Gist options
  • Star 0 You must be signed in to star a gist
  • Fork 0 You must be signed in to fork a gist
  • Save thaiall/4dae3e80398ec868806937fe9ff1e862 to your computer and use it in GitHub Desktop.
Save thaiall/4dae3e80398ec868806937fe9ff1e862 to your computer and use it in GitHub Desktop.
Android Studio : imageinarticle
<resources>
<string name="app_name">imageinarticle</string>
<string name="action_settings">Settings</string>
<string name="section_format">Hello World from section: %1$d</string>
<string-array name="data">
<item><b>ไอทีในชีวิตประจำวัน #611 เมื่อเพื่อนขอใช้โทรศัพท์เข้าสื่อสังคม</b> www.thaiall.com
อาจมีสักครั้งที่เพื่อนสนิท หัวหน้า กิ๊ก หรือแฟนขอยืมสมาร์ทโฟนของเราเข้าสื่อสังคม ในกรณีที่โทรศัพท์ของผู้ที่เข้ามายืมมีปัญหาและมีเหตุผลจำเป็น คำตอบโดยปกติคือ ไม่ให้ยืม แต่ถ้าคำตอบต้องเป็นให้ยืม แล้วต้องทำอย่างไร บางครั้งอาจต้องมีการทำงานกลุ่ม ต้องการภาพ หรือคลิ๊ปที่มีคุณสมบัติเหมือนกันจากสมาร์ทโฟนเครื่องเดียวกันเพื่ออัพโหลด หรือในกลุ่มมีเพียงของเราที่เชื่อมต่อเครือข่าย 3G หรือ WiFi ได้ หรือในกลุ่มพร้อมใจกันไม่ได้พกอุปกรณ์ติดตัวไปด้วย นั่นมีเหตุผลมากมายที่ต้องให้ยืม แล้วผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นเข้าใจเงื่อนไขเหล่านี้ จึงพัฒนาโปรแกรมบราวเซอร์ให้สามารถเปลี่ยนเป็นโหมดส่วนตัวที่ไม่บันทึกข้อมูลขณะใช้งาน และหายไปเมื่อเลิกใช้ได้ ซึ่งรองรับการให้เพื่อนยืมสมาร์ทโฟนเพื่อเข้าสื่อสังคมได้
ในสมาร์ทโฟนมักมีโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser) อยู่หลายค่าย อาทิ Chrome, Firefox, Opera, Baidu หรือ Dolphin ผู้ใช้บางท่านอาจลงผลิตภัณฑ์หลายทุกค่าย ซึ่งมักมีคุณสมบัติในการเข้าโหมดส่วนตัวทุกค่าย แต่ละค่ายก็จะมีชื่อเรียกโหมด และวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันไป แต่โหมดส่วนตัวหรือโหมดปลอดภัยจะมีคุณสมบัติเหมือนกัน คือ จะไม่เก็บรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านขณะใช้งานในโหมดปลอดภัยนี้ ไม่บันทึกการใช้งานให้ติดตามได้ใน History และไม่เก็บข้อมูลคุกกี้ไว้ในเครื่องเมื่อเลิกใช้ และทำงานแยกออกจากโหมดใช้งานปกติ ซึ่งผู้ใช้สามารถล๊อกอินเข้าระบบสื่อสังคม อาทิ เฟสบุ๊ค หรือทวิตเตอร์ด้วยบัญชีผู้ใช้ที่แตกต่างกันระหว่างโหมดปกติ และโหมดปลอดภัยคนละชื่อ หากมี 3 โปรแกรมบราวเซอร์ และสลับโหมดก็จะสามารถให้เพื่อนไม่ต่ำกว่า 6 คนเข้าสู่ระบบของสื่อสังคมด้วยบัญชีที่แตกต่างกันได้ แต่คงจะวุ่นวายอยู่ไม่น้อยกับการใช้สมาร์ทโฟนเครื่องเดียวโดยผู้ใช้ 6 คน
การเข้าโหมดลับของโปรแกรม Chrome เรียก New incognito tab แล้วยังเปิดได้หลาย Tab และมี Notification ที่สั่งปิดได้ทุกแท็บ ส่วนโปรแกรม Firefox เข้าผ่าน Private tab หรือ Tools, New Guest Session ก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ส่วนโปรแกรม Opera เข้าผ่าน Tab ที่ชื่อ Private คล้ายกับของ Firefox การใช้งานในโหมดลับนี้จะป้องกันการเห็นข้อมูลเฉพาะในตัวเครื่องเท่านั้น การเชื่อมต่อแล้วส่งข้อมูลออกไปภายนอกยังคงเปิดเผย และมีการเก็บข้อมูลการจราจร (Traffic Log) เช่นเดิม ผ่านผู้ให้บริการเครือข่าย ข้อความที่ส่งไปในสื่อสังคมก็ไม่ลับ หากข้อความนั้นมีคุณสมบัติเป็นสาธารณะ ดังนั้นการส่งข้อความใดก็ควรอยู่ในวิจารณญาณว่าจะไม่ก่อความเดือดร้อนให้ตนเอง หรือผู้อื่นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพื่อความปลอดภัยของตนเองเป็นที่ตั้ง เพราะความลับไม่มีในโลก และอย่างน้อยความลับที่ว่าลับนักนั้นตนเองก็รู้
</item>
<item><b>ไอทีในชีวิตประจำวัน #610 เวทีแสดงผลงานของเยาวชน</b> www.thaiabc.com
เวลาดูภาพยนตร์จะเห็นว่าเด็กหลายคนใช้สื่ออินเทอร์เน็ต ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อติดต่อสื่อสาร หรือส่งข่าวสารกับเพื่อน คนในครอบครัว หรือคนในสังคมได้ ปัจจุบันโรงเรียนจะสนับสนุนนักเรียนให้ไปแข่งขันในเวทีระดับภูมิภาค ประเทศ หรือโลกมากมายจนมีผลงานเป็นพอร์ตฟอลิโอ (Portfolio) การมีผลงาน เก็บผลงาน จัดหมวดหมู่ และนำเสนอเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย ถ้าเป็นนักเรียนก็เพื่อเตรียมยื่นผลงานเพื่อเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา หรือการขอรับทุนการศึกษา ถ้าเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยก็เพื่อเตรียมสมัครงานในตำแหน่งที่ชอบกับบริษัทใหญ่โต ถ้าเป็นพ่อค้าแม่ค้าก็จะมีพอร์ตของร้านเพื่อนำเสนอสินค้าและบริการ ถ้าเป็นหนุ่มสาวก็ต้องการมีเวทีเพื่อนำเสนอภาพลักษณ์ที่ดีของตนเผื่อจะมีใครเข้ามาสนใจเห็นตัวตนของฉันบ้างแล้วกดไลท์กดเลิฟสานต่อความสัมพันธ์กันต่อไป
ปัจจุบันนักเรียน นักศึกษา โรงเรียน บริษัท หรือพ่อค้าแม่ค้ามีโอกาสมากมายในการมีเวทีของตนผ่านสื่อ แต่ทุกอย่างเริ่มต้นที่เป้าหมาย หากมีเป้าหมายที่ชัดก็จะตามมาด้วยการใช้เวลาทุ่มเทที่จะนำผลงานของตนเผยแพร่ในเวที แล้วเวทีนั้นก็จะมีชีวิตชีวากับผู้พบเห็น การมีเวทีเผยแพร่ผลงานต้องลงทุนด้วยเวลา และค่าใช้จ่าย ส่วนเวทีแบบที่ไม่มีค่าใช้จ่ายก็มี อาทิ blogger.com, gotoknow.org, wordpress.com, firebase.google.com, github.com, facebook.com, twitter.com หรือ line ถ้าต้องการแบบทางการก็จะมีโดเมนเนมของตนเอง มีเครื่องบริการ และระบบฐานข้อมูล มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะเสนอสินค้า และรับการชำระเงินในตัว
คำสำคัญคือ เยาวชน ปัจจุบันเป้าหมายของเยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศทั้งสายสามัญ และสายอาชีพก่อนเข้าระดับอุดมศึกษา คือ การตั้งใจเรียนหนังสือเพื่อนำความรู้ไปใช้สอบเรียนต่อหรือสอบเข้าทำงาน การมีเวทีอาจไม่ใช่เป้าหมายสำคัญของการเรียนหนังสือ การใช้สื่อสังคมของเยาวชนก็พบว่าการนำเสนอผลงานอย่างจริงจังมีน้อย การจะนำเสนอผลงานนั้นต้องมีทักษะการเขียนในระดับหนึ่ง ซึ่งต้องมีทักษะการอ่านเป็นพื้นฐาน เชื่อมโยงกับคำว่า สุ จิ ปุ ลิ แต่ประเทศไทยเราพบว่าเยาวชนมีทักษะการอ่านไม่สูง ร้านหนังสือหรือนิตยสารต่างทยอยกันปิดตัวลง เพราะผู้อ่านลงทุนซื้อหนังสือมาอ่านกันน้อยลง หันไปใช้สื่อสังคม และให้เหตุผลว่าอ่านจากสื่อสังคมมากขึ้น ต่อไปก็หวังว่าสื่อสังคมจะมีอะไรที่ดีให้อ่านอย่างเป็นเรื่องเป็นราวและน่าเชื่อถือได้ หวังว่าประเทศไทย 4.0 จะเป็นทางออกและสนับสนุนให้เยาวชนไทยมีเวทีนำเสนอของตนเอง
</item>
<item><b>ไอทีในชีวิตประจำวัน #609 เทคโนโลยีที่ทำให้พัฒนาแอพบนมือถือง่ายขึ้น</b> www.thainame.net
พีดับบลิวเอ (PWA = Progressive Web Application) คือ เทคโนโลยีที่นำเสนอโดยกูเกิ้ล เพื่อทำให้การพัฒนาเว็บไซต์สามารถทำงานบนบราวเซอร์ (Browser) ในสมาร์ทโฟนได้อย่างสะดวก มีหน้าตาเหมือนแอพทั่วไป และรองรับได้กับทุกขนาดอุปกรณ์ โดยไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นจากแอพสโตร์ (Store) และไม่ต้องติดตั้ง (Install) ทำงานด้วย Service Worker บนบราวเซอร์ที่รองรับการทำงานแบบแบล็คกราว (Background) คือ ทำงานอยู่แม้ปิดบราวเซอร์ไปแล้ว เพื่อทำงานกับ Cache Asset สำหรับรองรับการทำงานแบบ Offline Application เมื่อกลับมาออนไลน์ก็จะ Sync เข้ากับเครื่องบริการ (Server) ปัจจุบันปริมาณการดาวน์โหลดแอพจากสโตร์มีแนวโน้มลดลง และเทคโนโลยีนี้อาจมาแทนที่ก็ได้
การพัฒนาแอพพลิเคชั่น (Application for Smartphone) แล้วส่งเข้าแอพสโตร์ ให้ผู้ใช้ดาวน์โหลด มีการนำเสนอสถิติโดย Andrew Chen นักวิเคราะห์และผู้ประกอบธุรกิจใน Silicon Valley ว่าจำนวนการดาวน์โหลดจะลดลงอย่างมากหลังเปิดให้ดาวน์โหลด 3 วันแรก และ 7 วันแรกเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด และลดลงไปถึง 90% เมื่อผ่านไป 30 วัน ส่วนบริษัท Adeven ผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ตลาดโมบาย เปิดเผยว่า ผลการติดตามยอดดาวน์โหลดแอพ คะแนนการรีวิว และการจัดอันดับในแอพสโตร์ (App Store) พบแอพกว่า 4 แสนจาก 5 แสนที่ไม่เคยถูกดาวน์โหลด หรือรับการจัดอันดับ และมีเพียงไม่กี่พันแอพที่ได้รับการดาวน์โหลดอย่างต่อเนื่อง แล้วจากการวิจัยของ comScore Mobile Metrix พบว่า ค่าเฉลี่ยการดาวน์โหลดแอพใหม่อยู่ที่ร้อยละ 0 แล้วเวลาร้อยละ 80 บนสมาร์ทโฟนใช้แอพหลักเพียง 3 แอพ
ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นมักพบปัญหาในการนำเสนอเนื้อหาให้ผู้ใช้ ที่ต้องพัฒนาแอพให้ทำงานได้ทั้งบน iOS, Android และ Website ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งพีดับบลิวเออาจเป็นทางออกสำหรับนักพัฒนาที่จะสามารถทำงานครั้งเดียว แต่ประมวลผลได้บนอุปกรณ์ทุกขนาด ทุกระบบปฏิบัติการ รองรับได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ถ้าเป็นจริงนั้นก็คงเป็นเวลาที่ Store อาจต้องนับเวลาถอยหลังปิดเกม เหมือนเทคโนโลยีอื่นในอดีตที่หายไปจากชีวิตของผู้ใช้ จุดเด่นของพีดับบลิวเอที่กูเกิ้ลนำเสนอ 3 เรื่อง ได้แก่ Reliable คือ รองรับได้แม้ออฟไลน์ Fast คือ เร็วจริง เพราะทำงานแบบออฟไลน์ไปพร้อมกันได้ และ Engaging คือ มีสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใช้แล้วทำ Push Notification ได้
</item>
</string-array>
<string name="data4">
<b>ไอทีในชีวิตประจำวัน #608 เก็บเรื่องราวในความทรงจำได้สั้น</b> www.thaiall.com
มีโอกาสดูภาพยนตร์เรื่อง Before I Fall กับ Tomorrow I Will Date With Yesterday s You ทั้งสองเรื่องเกี่ยวกับการพยายามใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุด แต่ทำให้นึกถึงการมีชีวิตและมีความทรงจำที่แสนสั้น มนุษย์เรามีความสามารถในการคิดวิเคราะห์แยกแยะสูง แต่เมื่อถึงเวลาต้องนำข้อมูลกลับมาใช้ประกอบการตัดสินใจ มักไม่มีประสิทธิภาพ มีตัวอย่างในภาพยนตร์เรื่อง Limitless เป็นตัวอย่างของคนที่มีความทรงจำ และค้นคืน (Data Retrieval) มาใช้กับสถานการณ์ตรงหน้าได้อย่างเหมาะสม เคยฟังเพลง Let It Be ที่แปลว่า ช่างมันเถอะ หรือปล่อยให้มันเป็นไป ในชีวิตจริงเราปล่อยให้เรื่องราวเป็นไป เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ขับรถเร็ว ปีนเขา ดำน้ำ เที่ยวกลางคืน หรือไปค้างในป่า แต่ถ้านำข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจจะพบว่ามีความเสี่ยงมากมายที่ถูกมองข้ามแล้วก็พูดกับตัวเองว่าช่างมันเถอะ
หนังเรื่อง A.I. (Artificial Intelligence) ที่ตัวเอกของเรื่องมีเป้าหมาย และมุ่งมั่นทำให้เป็นจริง เป้าหมายนั้นอยู่ในความทรงจำถาวร หรือฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) หากเก็บไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสมก็จะอยู่ได้นาน และสามารถค้นคืนได้ภายหลังแม้เวลาจะผ่านไปถึง 2000 ปี ส่วนความทรงจำของมนุษย์จะเก็บอะไร อย่างไร ที่ไหน เพื่อให้ความทรงจำอยู่ได้นานถึง 2000 ปี และนำกลับมาใช้ได้อีกเหมือนเกิดขึ้นเมื่อวานก็คงยาก มนุษย์เราจะตายแล้วเกิด 20 รอบ ความทรงจำก็คงถูกแทนที่ด้วยอะไรไปแล้วมากมาย ที่ต่างประเทศมีการเก็บสมองของมนุษย์ที่เรียกว่า การแช่แข็งมนุษย์ หรือไครโอนิกส์ (Cryonics) ด้วยความเย็นภายใต้อุณหภูมิ -196 เพื่อรอการคืนชีพในอนาคต
สื่อเก็บข้อมูลไม่ว่าจะมนุษย์หรือคอมพิวเตอร์ก็มีข้อจำกัดด้วยกันทั้งนั้น ในทางคอมพิวเตอร์จะจำกัดเรื่องขนาดอย่างชัดเจน ในมนุษย์จะจำกัดการจำเหตุการณ์ในเรื่องประสิทธิภาพ สิ่งใดที่จำแล้วอาจลืมเลือนไปในเวลาอันสั้น หรือบิดเบือน เช่น รายการอาหารมื้อเช้าที่ทานวันนี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วก็อาจเป็นเรื่องที่จำไม่ได้แล้ว หากนึกถึงเครือข่ายสังคม เช่น เฟสบุ๊คว่าจำกัดอะไรบ้าง ท่านที่ใช้งานไม่บ่อยก็อาจนึกไม่ถึง แต่หลายท่านที่ใช้งานเป็นประจำจะทราบว่า รับเพื่อนได้สูงสุดห้าพันคน เพื่อนที่รอการพิจารณารับเป็นเพื่อนมีสูงสุดได้หนึ่งพัน และภาพขนาดใหญ่ที่ส่งเข้าไปเผยแพร่จะถูกปรับขนาด หากดาวน์โหลดออกมาจากเฟสบุ๊คจะไม่ได้ขนาดเท่าต้นฉบับที่อัพโหลดเข้าไป หรือแฟ้มที่อัพโหลดเข้าไปในไลน์ก็จะจำกัดทั้งขนาด และระยะเวลานำเสนอ ทุกอย่างรอบตัวเรามีข้อจำกัดไม่ว่าจะในโลกไซเบอร์หรือโลกแห่งความเป็นจริง มนุษย์จึงต้องปรับตัวให้อยู่กับข้อจำกัดอย่างเหมาะสมตลอดเวลา ถ้าปรับตัวไม่ได้ก็จะกลายเป็นการบ่น ซึ่งพบเห็นเพื่อนบ่นในสื่อสังคมบ่อย ท่านล่ะเคยบ่นอะไรให้เพื่อนร่วมรับรู้บ้างไหม
</string>
</resources>
Sign up for free to join this conversation on GitHub. Already have an account? Sign in to comment